ถาม-ตอบชวนสนุก ปัญหาการเลือกวิธีในการตอกเสาเข็มแซมในโครงสร้างฐานราก การออกแบบให้โครงสร้างเสาตอม่อโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มให้มีความสมมาตร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

วันนี้ผมจะมาขอยกตัวอย่างสักหนึ่งตัวอย่างซึ่งก็จะมีความต่อเนื่องกับโพสต์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้ทำการอธิบายไปว่า การที่เพื่อนๆ มักจะได้ยินคำแนะนำมาว่า จะต้องทำการเสริมโครงสร้างเสาเข็มให้เป็นแบบ “เลขคู่” เสมอนั้น ยังถือว่า “ไม่ถูกต้อง” เสียทีเดียวเพราะถ้าจะให้คำแนะนำที่มีความถูกต้องจริงๆ ควรจะต้องพูดว่า เราจะต้องทำการเสริมโครงสร้างเสาเข็มให้เกิดความ “สมมาตร” ขึ้นในโครงสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างฐานรากแทน ดังนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ สามารถที่จะมองภาพถึงคำอธิบายที่ผมได้ให้ไว้ เรามารับชมตัวอย่างง่ายๆ ข้อนี้ที่ผมได้ทำออกมาไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ


เริ่มต้นจากรูปทางด้านซ้ายมือก่อน ซึ่งเป็นรูปแปลนของโครงสร้างฐานรากที่ใช้จำนวนของโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 260 มม ที่มีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยเท่ากับ 45 ตัน/ต้น ทั้งหมดจำนวน 6 ต้น โดยที่ทำการตอกเสาเข็มตามลำดับเริ่มตั้งแต่ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ซึ่งปรากฏว่าเกิดความเสียหายขึ้นกับเสาเข็มต้นที่ 3 ทำให้เราไม่สามารถที่จะใช้งานเสาเข็มต้นนี้ได้ หากเป็นแบบนี้จะทำการแก้ไขโครงสร้างเสาเข็มในโครงสร้างฐานรากต้นนี้ได้อย่างไร?
ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า เทคนิคในการทำการแซมโครงสร้างเสาเข็มภายในโครงสร้างฐานรากนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายวิธีการเลย ซึ่งวิธีการที่ผมจะนำเอามาแชร์ในวันนี้เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการเหล่านั้น ดังนั้นขอให้เพื่อนๆ พิจารณาและนำไปประยุกต์ใช้โดยอาศัยการพิจารณาจากข้อมูลจริงๆ ที่เพื่อนๆ จะต้องเจอด้วยนะครับ

เราอาจจะเริ่มต้นจากการพิจารณาเรื่องราคาและค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มก่อนก็ได้ ซึ่งจากตัวอย่างในวันนี้ผมสมมติว่า โครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 260 มม นั้นจะมีราคาอยู่ที่ต้นละ 12000 บาท และมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยเท่ากับ 45 ตัน/ต้น หากผมเปรียบเทียบกับเสาเข็มขนาดอื่นๆ แล้วผมพบว่ามีโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 220 มม นั้นจะมีราคาอยู่ที่ต้นละ 8000 บาท และมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยเท่ากับ 30 ตัน/ต้น นะครับ

ดังนั้นผมก็จะเลือกทำการยกเลิกการใช้งานโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 260 มม ต้นที่ 4 ในรูปทางด้านซ้ายมือ ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าโครงสร้างเสาเข็มขนาดดังกล่าวก็จะหายไปเป็นจำนวน 2 ต้น และผมก็จะทำการเลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 220 มม จำนวน 3 ต้น แทนซึ่งหากทำการเปรียบเทียบราคาและค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของตัวโครงสร้างเสาเข็มออกมาแล้วก็จะพบว่ามีราคาและค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยที่เท่าๆ กัน

ซึ่งหากเปรียบเทียบราคาดังกล่าวออกมาแล้วพบว่ามีมูลค่ามากกว่าเดิมบ้างเล็กน้อย ผมก็คิดว่าก็เป็นเรื่องที่สามารถยอมรับได้อยู่นะครับ
COST:
I260x2 = 12000x2 = 24000 BAHT
I220x3 = 8000x3 = 24000 BAHT
SAFE LOAD:
I260x2 = 45x2 = 90 TONS
I220x3 = 30x3 = 90 TONS

ส่วนขั้นตอนสุดท้ายก็คือทำการจัดเรียงให้เจ้าโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 220 มม จำนวน 3 ต้นนี้ให้วางตัวอยู่ในตำแหน่งที่มีความเหมาะสม ซึ่งหากพิจารณาดูดีๆ จะพบว่า โครงสร้างฐานรากใหม่ของเรานั้นจะกลายเป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้จำนวนของโครงสร้างเสาเข็ม ทั้งหมดจำนวน 7 ต้น เพิ่มขึ้นมา 1 ต้น จากจำนวนของโครงสร้างเสาเข็มเดิม 6 ต้น อีกทั้งโครงสร้างฐานรากใหม่ของเราก็ยังมีความสมมาตรในการรับแรงในทุกๆ แกนอีกด้วย ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ การปรับเปลี่ยนจำนวนของโครงสร้างเสาเข็มใหม่ของเรานั้นยังไม่เป็นการรบกวนหรือกระทบกระเทือนต่อเรื่องกำลังและค่าใช้จ่ายในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มด้วยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมก็อยากที่จะย้ำและให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ เหมือนกันกับที่ผมได้เคยพูดไปก่อนหน้านี้ว่า เราควรที่จะต้องทำการออกแบบหรือเสริมโครงสร้างเสาเข็มในโครงสร้างฐานรากของเราให้เกิดความ “สมมาตร” จะเป็นการดีที่สุด เนื่องด้วยโครงสร้างฐานรากที่มีคุณลักษณะของความสมมาตรนั้นจะทำให้ความมีเสถียรภาพและพฤติกรรมต่างๆ ของตัวโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มเองนั้นออกมามีความเป็น “ปกติ” มากที่สุดนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#เหตุใดจึงควรทำการออกแบบให้โครงสร้างเสาตอม่อโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มให้มีความสมมาตร
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam