“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เนื่องจากเมื่อประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมต้องเดินทางไปทำงานตรวจการทำงานซ่อมแซมและเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างอาคารเก่าในต่างจังหวัดซึ่งในวันนั้นจะต้องมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มหรือ PILE INTEGRITY TEST ด้วย ซึ่งผลจากการไปดูงานวันนั้นทำให้ผมพบว่าในปัจจุบันยังมีวิศวกรหลายๆ คนที่ยังมีความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงหลายประการอยู่เหมือนกัน ดังนั้นผมจึงอยากจะขออนุญาตใช้พื้นที่ของการโพสต์นี้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ให้ถูกต้องสักหน่อย อาจจะใช้เวลาในการโพสต์อธิบายไม่เนิ่นนานเท่าใดนักก็น่าจะเสร็จ ดังนั้นในวันนี้ผมอยากจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่องราวพื้นฐานซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มที่เราควรจะต้องทราบกันก่อนก็แล้วกันนะครับ


จริงๆ แล้ววิธีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มนั้นถือได้ว่าเป็นวิธีการทดสอบโดยทางอ้อมหรือ INDIRECT TEST วิธีการหนึ่ง ซึ่งจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการตรวจสอบความบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างเสาเข็ม ซึ่งขั้นตอนของการตรวจสอบก็จะอาศัยการประเมินจากลักษณะของคลื่นสัญญาณที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งก็จะมีลักษณะและรูปทรงที่มีความแปลกประหลาดแตกต่างออกไปจากคลื่นสัญญาณที่มีความปกตินั่นเอง โดยที่ลักษณะของความผิดปกติของคลื่นสัญญาณดังกล่าวนี้เราจะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ANOMALIES ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากพฤติกรรมของการตอบสนองของเสาเข็มต่อการเคลื่อนตัวของคลื่นที่เกิดการสั่นสะเทือนที่ผ่านไปในเนื้อวัสดุของตัวเสาเข็มนั้นมีความไม่สม่ำเสมอเกิดขึ้น ในที่สุดก็จะส่งผลทำให้พฤติกรรมการตอบสนองของเสาเข็มต่อการเคลื่อนที่ของคลื่นมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมการตอบสนองนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า IMPEDENCE นะครับ

ดังนั้นหากผลการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีการตรวจพบว่ามีค่า IMPEDENCE เกิดขึ้น นั่นก็แสดงว่ามีความผิดปกติบางประการเกิดขึ้นในตัวโครงสร้างเสาเข็มของเรา ซึ่งก็มีความเป็นได้สูงมากว่าความผิดปกติดังกล่าวที่เราตรวจพบนั้นก็คือความบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้นในตัวโครงสร้างเสาเข็มของเรา หากเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นจริงๆ เราก็ควรที่จะนำเอาผลจากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มนี้ไปตรวจสอบกับวิศวกรหรือผู้ควบคุมการทำงานเสาเข็มด้วยเพราะหากเหตุการณ์ที่ผู้ควบคุมการทำงานเสาเข็มนั้นได้บันทึกไว้นั้นพบว่า มีเหตุหรือความผิดปกติประการใดประการหนึ่งเกิดขึ้นในขณะที่กำลังทำงานโครงสร้างเสาเข็มอยู่และมีลักษณะที่มีความสอดคล้องกันกับความผิดปกติที่เราได้ตรวจพบด้วย ก็จะยิ่งเป็นการช่วยทำให้เรามั่นใจเพิ่มขึ้นไปอีกว่าโครงสร้างเสาเข็มต้นนี้มีความบกพร่องจริงๆ แต่หากผู้ควบคุมการทำงานเสาเข็มนั้นยืนยันว่าในขณะที่ทำงานโครงสร้างเสาเข็มนั้นไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นเลย เราก็เพียงแค่ทำการตรวจสอบนี้ซ้ำอีกซักรอบก็ไม่เป็นการเสียหายอะไร ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันผลจากการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มว่าผลที่ทำการทดสอบใหม่นั้นจะให้ผลเป็นเช่นใด

สุดท้ายแล้วก็จะขึ้นอยู่กับข้อมูลโดยรวมที่เราได้ทำการเก็บรวบรวมมาได้ ประสบการณ์และวิจารณญาณของวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้มีหน้าที่ในการควบคุมงานแล้วว่า จะทำการชี้วัดลงไปว่าลักษณะความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มนั้นจะอยู่ในระดับที่เป็นที่ยอมรับได้ในเรื่องของความสมบูรณ์ได้มากหรือน้อยแค่ไหนนั่นเองครับ
เอาไว้ในครั้งหน้าผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่อง วิธีในการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มกันต่อก็แล้วกัน หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในการโพสต์ครั้งต่อไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam