“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ


ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่องของการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มกันต่อ ซึ่งเพื่อนๆ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วิธีในการทดสอบดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็น วิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย หรือ NON-DESTRUCTIVE TEST METHOD วิธีการหนึ่ง ดังนั้นภายหลังจากการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มนั้นเสร็จสิ้นลง ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องมีความกังวลไปว่าโครงสร้างเสาเข็มที่เราได้ทำการทดสอบไปนั้นจะเกิดความเสียใดๆ ขึ้นจนไม่สามารถที่จะนำไปใช้งานต่อได้ ทั้งนี้จริงๆ แล้ววิธีในการทดสอบแบบไม่ทำลายที่เรากำลังพูดถึงนี้จะเป็นการอาศัยการค่อยๆ เคาะให้เกิดเป็นแรงกระแทกเข้าไปที่บริเวณส่วนหัวของโครงสร้างเสาเข็ม ซึ่งก็จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีการหลักๆ ได้แก่

1. วิธีการ SOMIC ECHO METHOD
อาจจะถือได้ว่าวิธีการทดสอบแบบนี้ เป็นวิธีการทดสอบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการทดสอบโครงสร้างเสาเข็ม วิธีการนี้จะอาศัยการจับค่าระยะเวลาที่คลื่นทดสอบนั้นเดินทางผ่านเข้าไปในตัวเสาเข็มเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หรือ TIME DOMAIN TECHNIQUE ทั้งนี้จะมีมาตรฐานในการทำการทดสอบรองรับก็คือ ACI 228-2R-98 และ/หรือ ASTM D 5882-00 และ/หรือ AS 2159-1995 ก็ได้นะครับ

2. วิธีการ IMPULSE RESPONSE METHOD
วิธีการทดสอบแบบนี้อาจจะได้รับความนิยมรองลงมาจากวิธีการที่ 1 ซึ่งในการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการนี้จะอาศัยการจับคลื่นความถี่ที่ใช้ในการทำการทดสอบในขณะที่คลื่นนั้นเดินทางผ่านเข้าไปในตัวโครงสร้างเสาเข็มเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หรือ FREQUENCY DOMAIN TECHNIQUE ทั้งนี้จะมีมาตรฐานในการทำการทดสอบรองรับก็คือ ACI 228-98 และ/หรือ ASTM D 5882-00 ก็ได้นะครับ

3. วิธีการ ANALYTICAL DERIVATIVE METHOD
การทดสอบโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการนี้จะเป็นการผนวกเข้าด้วยกันระหว่างวิธีการในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ซึ่งในขั้นตอนของการวิเคราะห์ผลจากการทำการดสอบนั้น ผู้ทำการทดสอบจะต้องทำการตั้งสมมติฐานก่อนว่า ค่าความหนาแน่นของคอนกรีต รวมถึงค่าความเร็วของคลื่นที่เกิดขึ้นในคอนกรีตนั้นจะต้องมีค่าที่มีความสม่ำเสมอ ทั้งนี้จะมีมาตรฐานในการทำการทดสอบรองรับก็คือ ACI 228-98 และ/หรือ ASTM D 5882-00 ก็ได้นะครับ

เอาเป็นว่าไว้ในการโพสต์ครั้งหน้าผมจะขออนุญาตมาขยายความและทำการพูดถึงข้อดีและข้อด้อยของการเลือกทำการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มด้วยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็ม หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในการโพสต์ครั้งต่อไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam